บทความ

แนวทางการจัดการเรื่อง Sustainability หรือความยั่งยืนในปัจจุบันได้กลายเป็นสิ่งสำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการจัดการทรัพยากร รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของคนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในวงการอสังหาริมทรัพย์หรือการก่อสร้าง การตระหนักถึงการลด Carbon Footprint และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพกลายเป็นสิ่งที่บริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

การทำงานออกแบบการก่อสร้างนั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ออกแบบหลายฝ่าย ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวิธีการทำงาน มุมมอง เทคนิค เป็นต้น แต่ผู้ออกแบบทุกฝ่ายจะต้องนำแบบมารวมเพื่อตรวจสอบว่าสามารถนำไปใช้ก่อสร้างได้จริง ซึ่งขั้นตอนนี้มีความยุ่งยากเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มีความซับซ้อนสูงที่ต้องการความร่วมมือจากผู้ออกแบบในการประสานงานให้เข้าใจตรงกัน ตัวอย่างเช่น วิศวกรต้องออกแบบการติดตั้งเครื่องตรวจจับควัน หัวฉีดน้ำป้องกันเพลิงไหม้ อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ แต่ผู้ออกแบบงานตกแต่งภายในต้องการความสวยงาม ดังนั้นการผสานแบบต่างๆ เพื่อดูผลว่าแบบที่รวมกันนั้นกระทบการออกแบบด้านใดบ้างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

One design discipline carries technicality, perception, perspective, and concept different from another. When there is a need for integration, challenges come in to affect project in different ways depending on its complexities and uniqueness. At implementing and monitoring design and construction processes, Architects and Engineers need to achieve highest accuracy and ensure none to least human errors. The best way is to compare designs effectively and    modify what needed efficiently while maintaining good collaboration among parties.  For example, the engineer has to install in the ceiling the sensor, smoking detector, Wi-Fi router, and sprinklers in way that gets each device functionally cover maximum area in the room while the interior designer practically prioritizes the aesthetic view of the ceiling.  They need to have ways and means to compare their technical drawings and layouts, well integrate their works and best reduce conflicts in design.

ขออนุญาตต่อจากบทความคราวก่อนนะครับ ที่กล่าวถึงขอบเขตหน้าที่ ความสำคัญของที่ปรึกษาควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง ซึ่งการมีที่ปรึกษาควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง (PM/CM) รวมถึงที่ปรึกษาด้านการบริหารสัญญา ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และผ่านงาน Mega Project เข้ามาเป็นตัวแทนเจ้าของโครงการ จะช่วยให้งานก่อสร้างของโครงการกลมกล่อมราบรื่น โดยมาช่วยวางแผน ให้คำแนะนำ ป้องกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ในเชิงป้องกันล่วงหน้า Monitor ติดตามงาน และการควบคุมการปฎิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญาข้อตกลง เพื่อให้เจ้าของโครงการมั่นใจได้ว่างานก่อสร้างจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการครับ

จากอดีตถึงปัจจุบัน กระบวนการงานออกแบบในอุตสาหกรรมก่อสร้างมีการพัฒนามาโดยตลอด การใช้งานก็ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการก่อสร้างจึงได้มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การบริหารจัดการงานก่อสร้างโครงการมีประสิทธิภาพและทันสมัยมากขึ้นอยู่เสมอ เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลบนระบบ Cloud เป็นเครื่องมือหนึ่งที่วงการก่อสร้างนิยมใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล แทนการเก็บเอกสารเป็น hard copy แบบเดิมที่ต้องใช้พื้นที่มหาศาลเพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบในการก่อสร้างหรือ drawing จำนวนมาก ระบบ Cloud ยังมีส่วนช่วยลดต้นทุนการขนส่งข้อมูลไปยังผู้เกี่ยวข้องหรือ stakeholder หลายฝ่ายในแต่ละโครงการเพื่อขออนุมัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ระหว่างดำเนินโครงการก่อสร้างด้วย

n project life cycle, after the design stage, stakeholders can expect many revisions  from conceptual drawing to as-built drawing. In  drawing revisions,  changes can be made to  materials and specifications due to client requirements, needs or requests, regarding  constructability or of  desired technology. These  factors significantly affect the project timeline, cost, method of statement and quality of delivery.   All types  of projects, though different in complexity, have  drawing revision process and its effects as key to the project management. These days, to enhance the process,  industrial professionals have entrusted their work to cloud-based document management or cloud-based project management system over the traditional on-site and off-site management counterparts.

ในงานก่อสร้าง มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ได้แก่ เจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง ที่ปรึกษาด้านการบริหารสัญญา ผู้สำรวจปริมาณงาน (QS) ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน ผู้รับเหมา และผู้จำหน่ายสินค้า เป็นต้น ในวันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่อง ขอบเขตหน้าที่การทำงานของที่ปรึกษาควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง (PM/CM) กันครับ ซึ่งหากจะกล่าวถึงที่ปรึกษางานก่อสร้างก็จะรวมถึงผู้ออกแบบ ผู้ควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง ที่ปรึกษาด้านการบริหารสัญญา ผู้สำรวจปริมาณงาน (QS) ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะด้าน เป็นต้น แต่วันนี้เราจะมาคุยเรื่อง ขอบเขตหน้าที่ของที่ปรึกษาควบคุมและบริหารงานก่อสร้าง สำคัญอย่างไร และทำไมต้องมี

ในงานก่อสร้าง เราคงเคยได้ยินเรื่องซ้ำๆ เช่น งบก่อสร้างบานปลาย ก่อสร้างไม่ตรงตามแบบ งานไม่ได้คุณภาพ งานล่าช้า การจ่ายเงินล่าช้า ผู้รับเหมาเรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม และขอขยายเวลาก่อสร้าง เป็นต้น สุดท้ายหากตกลงกันไม่ได้ก็จะเกิดข้อพิพาท ข้อขัดแย้งตามมา และอาจถึงขั้นผู้รับเหมาทิ้งงาน มีการบอกเลิกสัญญา ไปจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีความกันเลยที่เดียวครับ

ในธุรกิจงานก่อสร้างเชื่อว่าทุกท่านไม่ว่าจะเป็นเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมา และที่ปรึกษา เป้าหมายหลักในการทำโครงการก่อสร้าง คือ การทำงานให้แล้วเสร็จตามแผนงาน ภายใต้งบประมาณ และคุณภาพงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่จะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งในเบื้องต้นสัญญาข้อตกลงที่ ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นธรรม และเป็นไปตามความต้องการของเจ้าของคู่สัญญา จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้งานโครงการสำเร็จลุล่วงและราบรื่นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคู่สัญญา ปราศจากข้อขัดแย้ง ข้อพิพาท

การควบคุมต้นทุนงบประมาณค่าก่อสร้าง จำเป็นต้องมีความใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่อง ขอบเขตงานและความต้องการของเจ้าของ การออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง การประกวดราคา การก่อสร้าง การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ การวางโครงสร้างงาน การทำ Work Breakdown Structure และการทำ Checklist เพื่อติดตามงาน ซึ่งหากทำได้ครบถ้วนจะสามารถควบคุมต้นทุนงบประมาณค่าก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี BIM เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในวงการก่อสร้างไทย และเริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการทุกอย่างเริ่มต้นจากแบบ Schematic Design ไปจะถึงแบบ As-built และในอนาคตอันใกล้จะมีผลกับการใช้เทคโนโลยีนี้ไปจนถึงการ Operation และ Maintenance อาคารต่างๆ ในประเทศไทย

เอาแล้วซิครับ กว่าจะตกลงราคาและเงื่อนไข กว่าจะร่างสัญญา แก้ไข ต่อรอง ตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญา กว่าจะได้เซ็นสัญญา ดูแล้วก็ใช้เวลามากโขพอสมควรเลย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีแบบ มีรายละเอียดที่ซับซ้อน อาจจะใช้เวลาหลายเดือน และหลายเดือนที่ว่าก็ใช่ว่าเมื่อคู่สัญญาได้เซ็นสัญญาไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาอีก โดยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาข้อตกลงก็มีหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงแบบ/ราคาค่าจ้างหรืองาน VO การขยายเวลาก่อสร้าง วิธีการจ่ายค่าจ้าง และเงื่อนไขข้อตกลงอื่นๆ เป็นต้น

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 65 นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ SET กล่าวว่า ในปี 2565 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับปรุงมาตรการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ให้เหมาะสม รวมถึงเพื่อป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น ด้วยการยกระดับของมาตรการให้เข้มขึ้นจากเดิม และเพิ่มมาตรการการหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว 1 วันทำการเป็นมาตรการในระดับสูงสุด

เรื่องการจัดเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซีนั้นเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมาพอสมควร โดย วีระพล บดีรัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า และ K WEALTH GURU ธนาคารกสิกรไทย อธิบายว่า ภาษีคริปโตฯ ยังคงเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เพราะมีจำนวนนักลงทุนในตลาดคริปโตฯ เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

ในงานก่อสร้างมีลำดับขั้นตอน มาตรฐาน และมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน มูลค่างานสูง ในเบื้องต้นในงานก่อสร้างคงหนีไม่พ้นเรื่องการควบคุมระยะเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่าย และคุณภาพงาน ซึ่งสามสิ่งนี้ย่อมสอดคล้องกันเสมอ ความล่าช้างานก่อสร้างจะไม่เกิดขึ้นหากการมีการวางแผนเตรียมการที่ดี เริ่มตั้งแต่การออกแบบ การประกวดราคา การจัดซื้อจัดจ้าง การศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง คุณภาพวัสดุ แรงงาน เครื่องจักร รวมไปถึงเทคโนโลยี การควบคุม และการบริหารงานก่อสร้าง การสื่อสาร การติดตามงาน การควบคุมและปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญา รวมถึงการบริหารสภาพคล่องทางการเงินของโครงการ.

กระแส Metaverse ในโลกยุคปัจจุบันค่อนข้างเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับการลงทุน ก่อนหน้านี้ที่เป็นที่ฮือฮาไปทั่วโลกคือ Facebook ได้ร่วมลงทุนพร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น Mata พร้อมกับการเริ่มต้นกระแสจักรวาลนฤมิต ที่เป็นศัพท์บัญญัติของไทย หรือ Metaverse นั่นเอง และแน่นอนว่า ยักษ์ใหญ่ทางธุรกิจอย่าง SCB10x จึงรุกลงทุน “DeFi-Metaverse” เพื่อตอบโจยท์โลกอนาคต ด้วยการเข้าไปศึกษาในโลกของ DeFi หรือ “Decentralize Finance ระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลาง” ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจการเงิน ซึ่งจะสามารถทำธุรกิจได้แบบเดียวกับธนาคารดั้งเดิมทำ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยสินเชื่อ การลงทุน เทรดดิ้ง ประกัน ที่ใช้คนน้อย บนต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งแตกต่างกับการทำธุรกิจของธนาคารที่ผ่านมา โดยการปล่อยสินเชื่อต่างๆอาจต้องใช้คนจำนวนมาก

การเกิดเพลิงไหม้โรงแรม รีสอร์ทหรู มักเกิดขึ้นบ่อยๆ ทั้งที่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับมาควบคุมกำกับ ล่าสุดคือ เพลิงไหม้รีสอร์ทหรูระดับ 6 ดาว ค่าที่พัก 2 คืน 1 ล้านบาท ที่เกาะกูด จังหวัดตราด ย่อมเกิดความสูญเสียขึ้นอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับทรัพย์สิน ร่างกาย รวมถึงชื่อเสียงของผู้ประการ

สัญญางานก่อสร้างมาตรฐาน ควรระบุและพิจารณาเรื่องใดบ้าง

ในการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์ใหญ่ในแวดวงการเงิน เมื่อสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่กว่า 450 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย ธนาคาร กองทุน บริษัทประกัน และหน่วยงานกำกับจากหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีสินทรัพย์รวมกันมากกว่า 130 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ร่วมกันให้คำมั่นสัญญาที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและช่วยให้โลกบรรลุเป้าในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ ‘Net Zero’ ภายในปี 2050

ในโครงการก่อสร้างนั้นมักจะมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย เช่น สถาปนิก มัณฑนากร วิศวกร ผู้รับเหมา ที่ปรึกษา ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น ที่ปรึกษาการใช้ที่ดิน ที่ปรึกษาการขออนุญาต ผู้ออกแบบงานภูมิสถาปัตยกรรม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักจะทำงานโดย “โฟกัส” ไปที่การทำงานของตนเองให้แล้วเสร็จ ไม่ได้คำนึงถึงภาพรวมของโครงการ ถ้าปล่อยให้ทุกคนทำหน้าที่ของตนเองปราศจากการประสานงานที่ดี หรือ ต่างคนต่างทำ ทำงานไปคนละทิศละทาง สามารถคาดเดาได้เลยว่า โครงการนี้จะล้มเหลวอย่างแน่นอน

ทำไมในการก่อสร้างถึงไม่นิยมใช้สัญญาปากเปล่าในการตกลงกัน เราลองมาดูสาเหตุที่สัญญาการก่อสร้างนั้นควรจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรกัน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้