การระบุการใช้เทคโนโลยี BIM ในสัญญาต่างๆ ในโครงการก่อสร้าง

Last updated: 18 ต.ค. 2565  |  1290 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การระบุการใช้เทคโนโลยี BIM ในสัญญาต่างๆ ในโครงการก่อสร้าง

การระบุการใช้เทคโนโลยี BIM ในสัญญาต่างๆ ในโครงการก่อสร้าง


ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยี BIM เข้ามามีอิทธิพลอย่างมากในวงการก่อสร้างไทย และเริ่มเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการทุกอย่างเริ่มต้นจากแบบ Schematic Design ไปจะถึงแบบ As-built และในอนาคตอันใกล้จะมีผลกับการใช้เทคโนโลยีนี้ไปจนถึงการ Operation และ Maintenance อาคารต่างๆ ในประเทศไทย ดังนั้น การระบุการใช้เทคโนโลยีในเอกสารสัญญาต่างๆ ในโครงการก่อสร้างให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นสัญญาระหว่างผู้ออกแบบต่างๆ กับเจ้าของโครงการ ผู้รับเหมางานต่างๆ กับเจ้าของโครงการ จึงมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะเป็นจุดรวมข้อมูลของโครงการให้กับเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบต่างๆ ผู้บริหารโครงการ และผู้รับเหมา ให้เข้าใจถึงความเป็นไปของโครงการพร้อมๆ กัน ดังนั้นสัญญาต่างๆ ในโครงการควรจะต้องระบุเรื่องใดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี BIM นี้ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดและข้อพิพาทต่างๆ ทั้งในช่วงก่อนก่อสร้างโครงการ ช่วงก่อสร้างโครงการ จนกระทั่งช่วงการส่งมอบพื้นที่ เรามาวิเคราะห์กันว่าควรจะทำอย่างไรให้ใช้เทคโนโลยีนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในโครงการ

1.  TOR/RFP ในโครงการ ต้องระบุให้ชัดเจนว่ามีการใช้ BIM - เนื่องจากการใช้ BIM นี้อาจจะมีผลกับค่าบริการและค่าใช้จ่าย Party อื่นๆ ในโครงการ ตั้งแต่ผู้ออกแบบ ที่ปรึกษาด้านต่างๆ และผู้รับเหมา ดังนั้นเจ้าของโครงการจึงต้องระบุถึงความต้องการที่จะใช้ BIM ในโครงการ และ TOR/RFP ก็เป็นการแจ้งข้อกำหนดความต้องการของเจ้าของโครงการตั้งแต่เริ่มโครงการ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นงานเพิ่ม/ลดในอนาคต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องระบุเรื่องนี้ตั้งแต่ต้น

2.  ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับแบบและการก่อสร้างต้องใช้ BIM – การที่ใช้เทคโนโลยีศูนย์รวมข้อมูลเช่น BIM แล้ว การประสานงานต่างๆ ของแต่ละ Party ก็ควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน หากมี Party ใด Party หนึ่ง ไม่ได้ใช้ BIM จะทำให้เกิดปัญหาข้อมูลไม่ตรงกันได้ ทำให้การทำงานไม่ราบรื่น ดังนั้นสัญญาทุกสัญญาในโครงการควรจะต้องระบุให้ชัดเจนถึงการใช้ BIM

3.  ระบุรายละเอียด BIM Responsibility Matrix ของทุก Party - จำแนกว่าข้อมูลอะไรที่จะต้องใช้เมื่อไรและใครเป็นผู้ใช้ให้ผู้ร่วมงานรับผิดชอบโดยคำนึงถึงแผนการนำส่งข้อมูล ผู้ตรวจสอบ ผู้ประสานงาน กระบวนการบริหารข้อมูล องค์ประกอบต่างๆของไฟล์ที่จัดโครงสร้างสำหรับทีมงานโครงการ และ กำหนดความเกี่ยวพันในกระบวนการใช้ข้อมูล

4.  ระบุกำหนดเกณฑ์ความละเอียดในแต่ละขั้นตอนให้ชัดเจน – เพื่อเป็นการทำให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน ในสัญญาควรจะระบุว่าขั้นตอนใดควรจะใช้เกณฑ์ความละเอียดเท่าใด เช่น ในช่วง Design Development ใช้เกณฑ์ความละเอียด (Level of Development, LOD) 300 การทำแบบ As-built ใช้ LOD 500 เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างว่าทำไมการระบุการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ให้ชัดเจนในสัญญา จึงมีความสำคัญสำหรับโครงการก่อสร้างในยุคปัจจุบันและอนาคต เทคโนโลยี BIM นี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่ใช้ในโครงการก่อสร้างเท่านั้น ยังมีเทคโนโลยีอื่นๆ อีกเช่น EDMS (Electronic Document Management System) ที่ต้องระบุให้ชัดเจน หรือ Innovation ต่างๆ ที่เจ้าของโครงการต้องการนำมาใช้ในโครงการ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องระบุให้ชัดเจนตั้งแต่ TOR หรือ RFP เพื่อให้ทุกฝ่ายที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการเข้าใจตรงกัน


ติดตามข้อมูลได้ผ่าน Facebook page : TIPS Training หรือ เพจ Propertist และทาง Line Offical : @tipstraining

ผู้เขียน คุณนภนต์ เจริญพร Director Propertist Co.,Ltd.

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้