การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาก่อสร้าง (ทำอย่างไรให้ชัดเจน ไม่เกิดข้อขัดแย้งข้อพิพาทฟ้องร้องกันภายหลัง)

Last updated: 25 มี.ค. 2565  |  3460 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาก่อสร้าง (ทำอย่างไรให้ชัดเจน ไม่เกิดข้อขัดแย้งข้อพิพาทฟ้องร้องกันภายหลัง)

การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาก่อสร้าง (ทำอย่างไรให้ชัดเจน ไม่เกิดข้อขัดแย้งข้อพิพาทฟ้องร้องกันภายหลัง


เอาแล้วซิครับ กว่าจะตกลงราคาและเงื่อนไข กว่าจะร่างสัญญา แก้ไข ต่อรอง ตรวจสอบเอกสารประกอบสัญญา กว่าจะได้เซ็นสัญญา ดูแล้วก็ใช้เวลามากโขพอสมควรเลย โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ที่มีแบบ มีรายละเอียดที่ซับซ้อน อาจจะใช้เวลาหลายเดือน และหลายเดือนที่ว่าก็ใช่ว่าเมื่อคู่สัญญาได้เซ็นสัญญาไปแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาอีก โดยการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาข้อตกลงก็มีหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงแบบ/ราคาค่าจ้างหรืองาน VO การขยายเวลาก่อสร้าง วิธีการจ่ายค่าจ้าง และเงื่อนไขข้อตกลงอื่นๆ เป็นต้น

เมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาก่อสร้างได้ เราจึงต้องมีวิธีที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาให้ดูสะดวก ง่ายดาย ไม่สับสน ไม่มีความซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ ป้องกันปัญหาข้อขัดแย้งและข้อพิพาทเป็นคดีความกันภายหลัง โดยทำเป็นบันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญา ซึ่ง “บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญา” มีหลักการดังนี้

1. ไม่ต้องทำสัญญาใหม่ สัญญาหลักที่ลงนามไปแล้วยังคงใช้ได้อยู่ (ยกเว้นในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข)

2. อ้างถึงสัญญาหลักเดิมที่ลงนามไปแล้ว (สัญญาหลักมีสัญญาเดียวโดยทำเป็นต้นฉบับคู่ฉบับ แต่บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญาอาจมีหลายฉบับได้)

3. กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาให้ทำเป็น “บันทึกข้อตกลงแนบท้ายสัญญา”

    3.1.  ครั้งที่ 1 2 3.......เรียงกันไปเรื่อยๆ พร้อมระบุวันที่

    3.2.  ระบุชื่อ เรื่อง เช่น การเปลี่ยนแปลงแบบ/ราคาค่าจ้าง เป็นต้น

    3.3.  กำหนดให้บันทึกแนบท้ายสัญญาในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ให้มีลำดับความสำคัญเหนือสัญญาหลัก

    3.4.  นอกเหนือจากบันทึกแนบท้ายสัญญาในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ยึดถือสัญญาหลัก



บทสรุป

การทำเป็นบันทึกแนบท้ายสัญญากรณีมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาก่อสร้าง มีขั้นตอนง่ายๆ แต่ชัดเจนในเรื่อง จำนวนครั้ง ลำดับ วันที่ และเรื่องที่แก้ไข ทำให้ฝ่ายบริหารและคู่สัญญาดูภาพรวมของสัญญาได้ง่าย เช่น ขยายเวลาก่อสร้างจากสัญญาหลักกี่ครั้ง จำนวนกี่วัน ค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากสัญญาหลักเป็นจำนวนเงินเท่าใด เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้วการทำเป็นบันทึกแนบท้ายสัญญายังสร้างความสะดวกและชัดเจน เช่น กรณีมีค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในกรณีสัญญาจ้างทำของ หากทำเป็นบันทึกแนบท้ายสัญญาแล้ว การชำระค่าอากร ชำระภาษี ชำระเบี้ยประกันภัย โดยเฉพาะในส่วนที่เพิ่มขึ้นจะสะดวกง่ายขึ้น มีการบันทึกที่เป็นระบบระเบียบ มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือช่วยป้องกันปัญหาข้อพิพาทการเป็นคดีความกันครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้